PMC Discovery

Siam PMC(Siam private military company) Headline Animator

Wednesday, January 6, 2010

History of MP44

Sturmgewehr 44 (StG.44) : ปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของโลก


http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=weaponboard&No=6119
"SturmGewehr" มีความหมายว่า "Storm Rifle" (Storm Troopers คือชื่อเรียกของกองทัพบกนาซีที่มีความสามารถจู่โจมได้รวดเร็วคล้ายพายุ ดังนั้น Storm Rifle ก็คือ ปืนไรเฟิลจู่โจมของกองทัพบกนาซี) เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ กองทัพบกอังกฤษ จึงเรียกมันว่า "Assault rifle model 1944" หรือปืนไรเฟิลจู่โจมโมเดล 1944 โดย StG.44 นั้นได้รวมคุณสมบัติของ Carbines (ปืนไรเฟิลที่เบาและสั้น) Submachine guns (ปืนกลเบา) และ Automatic rifles (ปืนไรเฟิลอัตโนมัติ) จนกลายมาเป็นปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของกองทัพบกนาซีและแบบแรกของโลก ซึ่งปืนไรเฟิลจู่โจมที่ผลิตกันต่อๆ มาก็อาศัยพื้นฐานของ StG.44 แทบทั้งสิ้น

Walther MKb 42(W)
StG.44 พัฒนามาจากปืนต้นแบบ MKb.42 - MachinenKarabine, 1942 (Machine Carbine) โดยในช่วงเริ่มต้นมีบริษัทสองแห่งร่วมกันพัฒนาคือ Karl Walther (MKb.42(W)) และ C.G.Haenel (MKb.42(H)) ปืนทั้งสองแบบนี้ได้รับการคาดหมายกันว่าจะมาแทนที่ปืนกลเบาและปืนกลหนักที่ เหมาะสมกับทหารในแนวหน้า มันถูกออกแบบให้เป็นได้ทั้งปืนไรเฟิลและปืนพก ที่มีขนาดกระสุน 7.92x33 mm (7.92mm Kurz) ซึ่งปลอกกระสุนออกแบบโดยบริษัท Polte company มีระบบการทำงาน แบบGas-operated,Tilting Bolt อัตรายิง500-600นัด/นาที มีซองบรรจุกระสุนแบบ 30 นัด (30 round detachable box magazine)


Haenel MKb 42(H)
หลังจากปืนต้นแบบ MKb.42(H) ซึ่งออกแบบโดย Hugo Schmeisser ได้เข้าสู่สายการผลิตจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น MP-43 (MachinenPistole, 1943 - Machine pistol 1943 - ปืนพกกล) ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงแนวคิดของ Hitlers ที่ไม่ต้องการผลิตปืนประเภท Submachine guns -SMGs ขึ้นมาอีก - ในขณะนั้นมีแต่ปืนกลหนัก ปืนไรเฟิล ปืนพกและปืนพกกล ยังไม่มีปืนไรเฟิลจู่โจม)


The Maschinenpistole 43 (MP43)
หลังจาก MP-43 เยอรมันก็ได้ส่งรุ่น MP-44 ออกมาอีกซึ่งได้รับการยอมรับจากทหารในแนวหน้าว่ามีความน่าเชื่อถือในการยิงและเล็ง

ต่อมา Hitlers จึงยอมรับมันและตั้งชื่อใหม่ให้มันว่า SturmGewehr 44  ซึ่งถูกผลิตออกมามากกว่า 5 แสนกระบอก แต่มันก็สายเกินไปที่จะช่วยให้เยอรมันชนะสงครามได้ หลังสงคราม StG.44 ก็ปิดสายการผลิตมีเพียงบางประเทศที่ยังใช้มันต่อมาอีก คือ อดีตเยอรมันตะวันออก อดีตยูโกสลาเวีย และบางประเทศในทวีปแอฟริกา

ส่วนประกอบต่างๆ ของ StG.44
เมื่อ เทียบ StG.44 กับปืนไรเฟิลจู่โจมสมัยใหม่ StG.44ก็ยังมีข้อบกพร่องมากมาย เช่น มีน้ำหนักมากเกินไป (หลักมากกว่า 5 กิโลกรัม) ไม่มีความสะดวกสบายในท่านอนยิง ส่วนพานท้ายปืนก็ไม่แข็งแรงและสามารถหักได้ด้วยมือเปล่า (พานท้ายปื้นทำมาจากไม้) แต่ไม่ว่ามันจะมีข้อด้อยอะไรก็ตาม สำหรับ StG.44 มันก็ยังคือต้นแบบของปืนไรเฟิลจู่โจมของโลกอยู่ดี 



กองทัพโซมาเลียใช้ปืน StG.44 ในช่วงบุกเอธิเปีย ปี 1977-78


พลร่มของอดีตยูโกสลาเวียก็ยังใช้ StG.44